8/09/2554

501 :)

สวัสดีผู้เข้าชมบล็อกทุกคนนะค่ะ :)
พวกเรา ม.5/1 ได้แก่
  1. นายภัทรภณ           อินทสุวรรณ         เลขที่   14 
  2. นางสาวณัฐพร        รสรื่น                   เลขที่   18                
  3. นางสาวภัทรภร       ยิ้มถนอม            เลขที่   28
  4. นางสาวอภิษฎา      ชุติมาสกุล          เลขที่   31            
  5. นางสาวธิติมา         มีศิริ                    เลขที่   41
  6. นางสาวศิวพร         บุญกัณฑ์           เลขที่   42
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
และในบล็อกนี้นั้น พวกเราได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและหน้าที่ของคลอโรพลาสต์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
  • ชนิดและหน้าของรงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
  • ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความเข้มของแสง และปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
หากบล็อกเกอร์ผู้ใดสนใจในหัวข้อไหนก็เปิดลิ้งค์ด้านขวามือได้เลยนะค่ะ :D
ขอบคุณที่ติดตามพวกเราค่ะ :)

ปล.หากผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะค่ะ

ข้อสอบเอนทรานซ์

(Ent 2529)  1 .ในปฏิกิริยาใช้แสงของการสังเคราะห์ด้วยแสง การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักรแตกต่างจากการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เปนวัฏจักรอย่างไร

A. แบบแรกให้เฉพาะ NADPH ส่วนแบบหลังให้ NADPH และ ATP
B. แบบแรกให้เฉพาะ ATP ส่วนแบบหลังให้ NADPH และ ATP
C. แบบแรกให้ NADPH และ ATP ส่วนแบบหลังให้เฉพาะ ATP                                                       
D. แบบแรกให้ NADPH และ ATP ส่วนแบบหลังให้เฉพาะ NADPH                                                          

ตอบ B

(Ent  2528)  2 . จากการทดลองฉายแสงทีละช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ 400-700 นาโนเมตร ให้แกสาหร่ายสีเขียวชนิดหนึ่ง พบว่าถ้าฉายแสงที่มีความยาวคลื่นเกิน 600 นาโนเมตร อัตราการสังเคราะห์แสงลดลง (วัดจากปริมาตรออกซิเจนที่ปล่อยออกมา) เป็นเหตุผลใด

A. คลอโรฟิลล์ดูดพลังงานแสงที่มีช่วงความยาวคลื่นเกิน 650 นาโนเมตรไม่ได้
B. ปฏิกิริยาเกิดในรงควัตถุระบบ 1 เท่านั้น
C. ปฏิกิริยาเกิดในรงควัตถุระบบ 2 เท่านั้น                                                                                         
D. เกิดการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร                                                                                   

ตอบ B


(Ent   2541)  3 .  ข้อใดเป็นจริง เมื่อมีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนของ Chloroplast

A. ถ่ายทอดผ่านเยื่อหุ้มชั้นใน
B. ไม่มีการถ่ายทอดอิเล็ดตรอนผ่าน NADP
C. ทำให้เกิดฟอสฟอริเลชัน                                                                                                                 
D. มีการผลิต NADH                                                                                                                                

ตอบ C


(Ent 2527)   4 .  การสลายตัวของโมเลกุลน้ำเพื่อให้ได้อิเล็กตรอนไปให้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงอยู่ในบริเวณใดของพืช
A. ภายในคลอโรพลาสต์
B. กรานุม
C. สโตรมา                                                                                                                             

ตอบ B


 (Ent 2529)  5 . ในระยะแรกของการสังเคราะห์ด้วยแสง พลังงานแสงถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานเคมีในสารประกอบใดบ้าง
A. ANDH และ ATP
B. ANDH และ FADH
C. FADH    และ NADPH                    
D. NADPH และ ATP     

ตอบ D


(Ent 2537)   6 . แสงแดดทำหน้าที่อะไรในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
A. เป็นคะตะลิสในปฏิกิริยาที่ใช้แสง
B. เป็นตัวกระตุ้นให้คลอโรฟีลล์ทำงาน
C. เป็นตัวกระตุ้นให้น้ำแตกตัวเพื่อให้คลอโรฟิลล์ทำงาน  
D. เป็นองค์ประกอบร่วมกับคาร์บอนไดออกไซและน้ำเพื่อประกอบเปนสารอินทร๊ย์                              

ตอบ B


 (Ent 2539)  7.  พืชกลุ่มใดมีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงสูงสุด
A. อ้อย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
B. มันสำปะหลัง มะพร้าว ละหุ่ง
C. นุ่น สบู่ดำ ฝ้าย
D. หญ้า ผักตบชวา ไผ่

ตอบ A.


8 .  คำกล่าวที่ว่า “การหายใจ การเน่าเปื่อย และการตายของสัตว์ทำให้อากาศเสีย แต่พืชกลับทำให้อากาศเสียบริสุทธิ์ขึ้น และมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต” เป็นคำกล่าวของ
A.  แวน เฮลมองท์
B.  โจเซฟ พริสท์ลีย์
C.  แจน อิเก็นฮูซ
D.  ธีโอดอร์เดอ โซซูร์      

ตอบ B.


(Ent 2543)   9.  กลไกการสร้าง ATP ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคล้ายคลึงกับการหายใจในข้อใด
ก. การสร้าง ATP ในการถ่ายทอดอิเล็กตรอน
ข. การสร้าง ATP ในเมทริกซ์
ค. การสร้าง ATP ในไซโทรพลาสซึม
   
          A. ก     B. ข          C. ก ข                  D. ก  ข  ค          

ตอบ A.


(Ent 2543)   10. การผลิต ATP ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคล้ายกับการผลิต ATP ในขั้นตอนใดของกระบวนการ
     ก. ไกลโคลิซิส   ข. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน   ค. วัฏจักรเครบส์
A. ก 
B. ข    
C. ก  ข  
D. ข  ค    

ตอบ B


(Ent 2543)   11. ข้อใดเป็นจริงเกี่ยวกับ ATP ของเซลล์ที่เก็บสะสมอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตในบริเวณรากพืช
     ก. สร้างออร์แกเนลล์บางชนิดที่มีเยื่อหุ้ม
     ข. สร้างจากบริเวณไซโทรพลาสซึม
     ค. สร้างจากออร์แกเนลล์บางชนิดมีแสงสว่าง
     ง. ใช้ประโยชน์ในการลำเลียงสารอนินทรีย์จากรากไปสู่ยอด

A. ก  ข 
B. ก  ข  ค   
C. ข  ค  ง
D. ก  ค  ง   

ตอบ D


12. สารใดที่เป็นให้โปรตรอนละอิเลคตรอนที่แท้จริงในปฏิกิริยาสังเคราะห์ด้วยแสง
A.     คลอโรฟิลล์
B.     NADPH+H+
C.     CO2
D.     H2O       

ตอบ D.


14. ถ้าไม่ต้องการให้มีตะไคร่น้ำขึ้นจับที่ตู้เลี้ยงปลา ควรจะต้องติดหลอดไฟสีอะไรเหนือตู้เลี้ยงปลานี้
A.    แดง
B.    เขียว
C.    น้ำเงิน
D.    ฟ้า        

ตอบ B.


15.  พฤติกรรมของชาวสวนข้อใดที่เป็นประโยชน์ต่อกรเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสง
A.    รดน้ำในช่วงเช้าและเย็น
B.    ให้ปุ๋ยอินทรีย์สลับกับปุ๋ยเคมีเป็นครั้งคราว
C.    กำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอและปลูกพืชผสมผสาน
D.    สุมไฟเผาหญ้าบริเวณสวนในตอนกลางวัน   

ตอบ D.       

































หน้าที่ของรงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

ดูดกลืนแสง (Light absorption)
รงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง มีความสามารถในการดูดกลืนแสงในช่วงคลื่นต่างๆ กัน                                               แสงธรรมชาติที่พบ จะประกอบด้วยแสงที่ช่วงความยาวคลื่นต่างๆ กัน แสงในช่วงคลื่นที่เราสามารถมองเห็นได้ (visible light) จะอยู่ในช่วงความยาวคลื่น 400-700 นาโนเมตร


ใช้ในปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นบริเวณไทลาคอยด์    
เป็นการที่รงควัตถุรับพลังงานแสง แล้วนำพลังงานนั้นมาใช้ในการสร้างสารที่มีพลังงานสูง ซึ่งได้แก่ ATP และ NADPH เพื่อที่จะได้นำพลังงานจากโมเลกุลเหล่านี้ไปใช้ในการสร้างสารอินทรีย์ในกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไป ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณ สโตรมาในคลอโรพลาสต์
เมื่อระบบแสงได้รับพลังงาน โดยการดูดกลืนแสงของรงควัตถุที่อยู่ในระบบแสง จะมีการส่งถ่ายพลังงานที่ได้รับสู่ศูนย์กลางปฏิกิริยา(reaction center) ซึ่งคือ คลอโรฟิลล์ เอ
ในระบบแสงจะมีหน่วยรับพลังงานแสง ซึ่งประกอบด้วยรงควัตถุหลายชนิด ทั้งแคโรทีนอยด์ คลอโรฟิลล์ บี และคลอโรฟิลล์ เอ ที่ทำงานร่วมกันในการรับพลังงานแสง แล้วส่งพลังงานนั้นเข้าสู๋ศูนย์กลางปฏิกิริยา ซึ่งคือโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ เอ ซึ่งโมเลกุลคลอโรฟิลล์ เอ นี้เมื่อได้รับพลังงานในช่วงคลื่นที่พอเหมาะ อิเลคตรอนในโมเลกุบของคลอโรฟิลล์จะถูกกระตุ้นให้อยู่ในชั้นของระดับพลังงานที่สูงขึ้น (excited state) พร้อมที่จะถ่ายทอดอิเลคตรอนนี้ให้กับตัวรับอิเลคตรอนตัวถัดไป

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง ประกอบด้วยปัจจัย 2 ประเภท คือ
ก. ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่
       1. โครงสร้างของใบ จะมีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงในด้านต่าง ๆ ดังเช่น
-  การรับและการเคลื่อนย้าย CO2 จนถึงคลอโรพลาสต์
-  ความเข้มของแสงที่จะผ่านไปถึงคลอโรพลาสต์ได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความหนาของคิวทิเคิล (Cuticle) เอพิเดอร์มิส ขนที่ปกคลุมผิวใบ การจัดเรียงตัวของเซลล์ชั้นมีโซฟีลล์ และตำแหน่งของคลอโรพลาสต์ภายในเซลล์ เป็นต้น
         ดังนั้น ถ้าหากพืชมีโครงสร้างของใบเหมาะสมสำหรับรับวัตถุดิบและพลังงานแล้วอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงย่อมจะสูงด้วย
       2. สภาพของโพรโทพลาซึม สภาพของโพรโทพลาซึมที่ขาดน้ำจะทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง ทั้งนี้เนื่องจากไปกระทบกระเทือนต่อการทำงานของเอนไซม์บางชนิด
      3. ปริมาณของผลิตผลที่ได้ ถ้าผลิตผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มมากขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง
      4. อายุของใบ ใบอ่อนหรือใบแก่เกินไปจะมีความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้น้อย เมื่อเทียบกับใบที่เจริญเต็มที่
      5. ปริมาณของคลอโรฟีลล์และรงควัตถุ  ที่ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง ถ้าหากคลอโรฟีลล์น้อย อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็ต่ำด้วย ถึงแม้จะมีแสงและ CO2 เพียงพอก็ตาม

ข. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่
     1. แสงและความเข้มของแสง แสงเป็นปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง แหล่งพลังงานแสงตามธรรมชาติที่พืชได้รับ คือ พลังงานจากแสงแดด


     2. อุณหภูมิ   การสังเคราะห์ด้วยแสงอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงอุณหภูมิกว้าง เนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ด้วยแสงไม่เท่ากัน  เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงอุณหภูมิ              0 - 35 องศาเซลเซียส


     3. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศมักจะอยู่ในปริมาณที่คงที่ คือ ประมาณ   0.03 - 0.04% แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้


     4. น้ำ   น้ำมีบทบาทสำคัญในการให้อิเล็กตรอนแก่คลอโรฟีลล์ในระบบแสง II น้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญโดยตรงในสภาพที่พืชขาดน้ำมักจะปิดปากใบเพื่อสงวนน้ำเอาไว้ การปิดของปากใบจะมีผลไปยับยั้งการแพร่ CO2 เข้าสู่ใบ ทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง
     5. แร่ธาตุต่าง ๆ  การขาดแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิด จะมีผลทำให้ความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชลดลงได้ เช่น คลอรีน (Cl) จำเป็นต่อการสลายโมเลกุลของน้ำในปฏิกิริยาโฟโตลิซิส (Photolysis)
     6. ออกซิเจน  ไม่ค่อยมีผลต่อการสังเคราะห์แสงเท่าใดนัก แต่ถ้าออกซิเจนลดลงกลับจะมีผลให้อัตราการสังเคราะห์แสงสูงขึ้น เพราะการสังเคราะห์แสงได้ออกซิเจนออกมาเป็นธรรมดา อยู่แล้ว และถ้ามีออกซิเจนมากเกินไปจะทำให้เกิด photorespiration รุนแรงขึ้น
    7. สารเคมีบางอย่าง  เช่น ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCH) , hydroxylamine ไฮโดรเจนซัลไฟด์ สารประกอบที่มีอนุมูลของ iodoacctyl อยู่ เหล่านี้แม้เพียงเล็กน้อย เช่น HCH 4 X 10-6 M. ก็มีอิทธิพลทำให้การสังเคราะห์แสงหยุดชะงักได้ เนื่องจากสารดังกล่าวมีคุณสมบัติเป็น enzyme inhibitor
    8. เกลือแร่  ธาตุไนโตรเจนและแมกนีเซียมของเกลือในดินก็มีความสำคัญต่ออัตราการสังเคราะห์แสงเหมือนกัน เพราะธาตุทั้งสองนี้เป็นองค์ประกอบอยู่ในอณูของคลอโรฟิล


อ้างอิง : http://www.lks.ac.th/student/kroo_aumara/bio01/13.html

8/08/2554

ชนิดของรงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

          พืชและ/หรือสิ่งมีชีวิตที่มีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง จะต้องมีสารที่มีความสามารถในการดูดกลืนพลังงานแสง แล้วนำพลังงานนั้นไปใช้ในการสร้างพันธะเคมี (chemical bond) ในโมเลกุลของสารอินทรีย์
          โมเลกุลที่มีความสามารถในการดูดกลืนแสงที่มีอยู่ในพืชและสิ่งมีชีวิตนี้คือ รงควัตถุ (pigment) รงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthetic pigment) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของโครงสร้างของโมเลกุล ได้แก่



1. Chlorophyll   เป็นรงควัตถุที่พบทั่วไปในพืชและสิ่งมีชีวิตทีมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โครงสร้างประกอบไปด้วยส่วนที่เป็น porphyrin-like structure ซึ่งมี Mg2+ อยู่ส่วนกลางของโครงสร้าง และส่วนที่เป็นสายยาวของไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นส่วนที่เป็น hydrophobic region ซึ่งฝังตัวอยู่บน photosynthetic membrane ในคลอโรพลาสต์



2. Phycobilins   เป็นรงควัตถุที่เป็น accessory light-harvesting pigments ที่พบใน cyanobacteria และสาหร่ายสีแดง มีโครงสร้างเป็น open-chain tetrapyrroles
phycobilins ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปมี 3 ชนิดคือ phycoerythrin (หรือ phycoerythrobilin) phycocyanin (หรือ phycocyanobilin) และ allophycocyanin (allophycocyanobilin) ซึ่งทั้งสามชนิดนี้จะไม่พบในพืชชั้นสูง แต่พบเฉพาะใน cyanobacteria และสาหร่ายสีแดงเท่านั้น
3. Carotenoids    กลุ่มรงควัตถุที่มีสีเหลือง-ส้ม พบทั่วไปในพืชและสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ มีหน้าที่ในการช่วยรับพลังงานแสง accessory light-harvesting pigment เพื่อการสังเคราะห์ด้วยแสง และทำหน้าที่ในการป้องกันอันตรายจากแสง (photoprotective agents)
 เป็นกลุ่มรงควัตถุที่มีสีเหลือง-ส้ม พบทั่วไปในพืชและสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ มีหน้าที่ในการช่วยรับพลังงานแสง accessory light-harvesting pigment เพื่อการสังเคราะห์ด้วยแสง และทำหน้าที่ในการป้องกันอันตรายจากแสง (photoprotective agents)
 โครงสร้างหลักของรงควัตถุกลุ่มนี้คือ การเป็นสายไฮโดรคาร์บอน ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน 40 อะตอม ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มย่อยคือ carotenes  และ xanthophylls    

      
-   Carotenes เป็นรงควัตถุที่มีสีส้ม หรือส้ม-แดง เป็นสายยาวของไฮโดรคาร์บอน ส่วน
-    xanthophyll มีสีเหลือง หรือส้ม-เหลือง ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วยสายยาวของไฮโดรคาร์บอน แล้ว ยังมี O เป็นองค์ประกอบอีกด้วย ซึ่ง xanthophylls มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับระดับ oxidation ของโมเลกุล

8/06/2554

โครงสร้างและหน้าที่ของคลอโรพลาสต์

โครงสร้างของคลอโรพลาสต์
           คลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ภายในมีของเหลวเรียกว่า สโตรมา มีเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์ด้วยแสงนอกจากนี้ด้านในของคลอโรพลาสต์ ยังมีเยื่อไทลาคอยด์ ส่วนที่พับทับซ้อนไปมาเรียกว่า กรานุม และส่วนที่ไม่ทับซ้อนกันอยู่เรียกว่า สโตรมาลาเมลลา สารสีทั้งหมดและคลอโรฟิลล์จะอยู่บนเยื่อไทลาคอยด์มีช่องเรียก ลูเมน ซึ่งมีของเหลวอยู่ภายใน
           นอกจากนี้ภายในคลอโรพลาสต์ยังมี DNA RNA และไรโบโซมอยู่ด้วย ทำให้คลอโรพลาสต์สามารถจำลองตัวเองขึ้นมาใหม่และผลิตเอนไซม์ไว้ใช้ในคลอโรพลาสต์ในคลอโรพลาสต์เองได้คล้ายกับไมโทคอนเดรีย


หน้าที่ของคลอโรพลาสต์
          หน้าที่หลักของคลอโรพลาสต์คือการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) ซึ่งหมายถึงการสังเคราะห์อาหารในรูปน้ำตาลจากการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ (fix carbondioxide) โดยแบ่งปฏิกิริยาออกเป็น 2 ปฏิกิริยาย่อย คือ light reaction และ carbondioxide fixation

 1.light reaction เป็นปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดอิเลคตรอนที่มีพลังงานสูงด้วยการใช้แสงไปกระตุ้นให้อิเลคตรอนจากคลอโรฟิลล์ซึ่งได้จากน้ำ และได้ผลิตภัณฑ์เป็นออกซิเจน (O2) ขึ้น อิเลคตรอนที่มีพลังงานสูงนี้จะมีการขนส่งอิเลคตรอนไปยังตัวรับอิเลคตรอนเป็นลูกโซ่ (เช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในไมโตคอนเดรีย) โดยบริเวณที่ใช้ในการขนส่งอิเลคตรอนนั้นเกิดขึ้นที่บริเวณเมมเบรนของ thylakoid และขณะเดียวกันจะมีการขับเคลื่อนโปรตอนผ่าน thylakoid membrane และทำให้เกิดการสังเคราะห์ ATP ขึ้นที่บริเวณ stroma ในขั้นตอนสุดท้ายของการขนส่งอิเลคตรอนนั้นจะส่งอิเลคตรอนให้ NADP+ พร้อมกับการเติม H+ ทำให้ได้ NADPH ซึ่งเป็นสารที่มี reducing power สูง เพื่อนำไปใช้ในปฏิกิริยาถัดไปเช่นเดียวกับ ATP โดยสรุปนั้นในปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาที่ใช้พลังงานจากแสงโดยตรง และได้ผลิตภัณฑ์เป็น ATP, NADPH และ O2

 2.carbondioxide fixation เป็นการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์โดยมีเอนไซม์สำคัญคือ RuBisco ที่ต้องใช้พลังงานจาก ATP และ NADPH จากปฏิกิริยาแรก เพื่อให้ได้สารที่อยู่ในรูปน้ำตาลหรือกรดไขมัน หรือ กรดอะมิโน เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของพืชต่อไป และมีบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาอยู่ที่ stroma ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาที่ใช้พลังงานจากแสงในทางอ้อม
         การเกิดปฏิกิริยาย่อยของการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นมีกลไกในการควบคุมที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยพบว่าเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์หลายตัวนั้นไม่สามารถทำการเร่งปฏิกิริยาได้ในภาวะที่ไม่มีแสง และสามารถกลับมาทำงานเร่งปฏิกิริยาได้อีกครั้งหนึ่งเมื่อมีแสง



อ้างอิง :  http://th.wikipedia.org/wiki/คลอโรพลาสต์