8/09/2554

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง ประกอบด้วยปัจจัย 2 ประเภท คือ
ก. ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่
       1. โครงสร้างของใบ จะมีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงในด้านต่าง ๆ ดังเช่น
-  การรับและการเคลื่อนย้าย CO2 จนถึงคลอโรพลาสต์
-  ความเข้มของแสงที่จะผ่านไปถึงคลอโรพลาสต์ได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความหนาของคิวทิเคิล (Cuticle) เอพิเดอร์มิส ขนที่ปกคลุมผิวใบ การจัดเรียงตัวของเซลล์ชั้นมีโซฟีลล์ และตำแหน่งของคลอโรพลาสต์ภายในเซลล์ เป็นต้น
         ดังนั้น ถ้าหากพืชมีโครงสร้างของใบเหมาะสมสำหรับรับวัตถุดิบและพลังงานแล้วอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงย่อมจะสูงด้วย
       2. สภาพของโพรโทพลาซึม สภาพของโพรโทพลาซึมที่ขาดน้ำจะทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง ทั้งนี้เนื่องจากไปกระทบกระเทือนต่อการทำงานของเอนไซม์บางชนิด
      3. ปริมาณของผลิตผลที่ได้ ถ้าผลิตผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มมากขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง
      4. อายุของใบ ใบอ่อนหรือใบแก่เกินไปจะมีความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้น้อย เมื่อเทียบกับใบที่เจริญเต็มที่
      5. ปริมาณของคลอโรฟีลล์และรงควัตถุ  ที่ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง ถ้าหากคลอโรฟีลล์น้อย อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็ต่ำด้วย ถึงแม้จะมีแสงและ CO2 เพียงพอก็ตาม

ข. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่
     1. แสงและความเข้มของแสง แสงเป็นปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง แหล่งพลังงานแสงตามธรรมชาติที่พืชได้รับ คือ พลังงานจากแสงแดด


     2. อุณหภูมิ   การสังเคราะห์ด้วยแสงอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงอุณหภูมิกว้าง เนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ด้วยแสงไม่เท่ากัน  เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงอุณหภูมิ              0 - 35 องศาเซลเซียส


     3. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศมักจะอยู่ในปริมาณที่คงที่ คือ ประมาณ   0.03 - 0.04% แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้


     4. น้ำ   น้ำมีบทบาทสำคัญในการให้อิเล็กตรอนแก่คลอโรฟีลล์ในระบบแสง II น้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญโดยตรงในสภาพที่พืชขาดน้ำมักจะปิดปากใบเพื่อสงวนน้ำเอาไว้ การปิดของปากใบจะมีผลไปยับยั้งการแพร่ CO2 เข้าสู่ใบ ทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง
     5. แร่ธาตุต่าง ๆ  การขาดแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิด จะมีผลทำให้ความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชลดลงได้ เช่น คลอรีน (Cl) จำเป็นต่อการสลายโมเลกุลของน้ำในปฏิกิริยาโฟโตลิซิส (Photolysis)
     6. ออกซิเจน  ไม่ค่อยมีผลต่อการสังเคราะห์แสงเท่าใดนัก แต่ถ้าออกซิเจนลดลงกลับจะมีผลให้อัตราการสังเคราะห์แสงสูงขึ้น เพราะการสังเคราะห์แสงได้ออกซิเจนออกมาเป็นธรรมดา อยู่แล้ว และถ้ามีออกซิเจนมากเกินไปจะทำให้เกิด photorespiration รุนแรงขึ้น
    7. สารเคมีบางอย่าง  เช่น ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCH) , hydroxylamine ไฮโดรเจนซัลไฟด์ สารประกอบที่มีอนุมูลของ iodoacctyl อยู่ เหล่านี้แม้เพียงเล็กน้อย เช่น HCH 4 X 10-6 M. ก็มีอิทธิพลทำให้การสังเคราะห์แสงหยุดชะงักได้ เนื่องจากสารดังกล่าวมีคุณสมบัติเป็น enzyme inhibitor
    8. เกลือแร่  ธาตุไนโตรเจนและแมกนีเซียมของเกลือในดินก็มีความสำคัญต่ออัตราการสังเคราะห์แสงเหมือนกัน เพราะธาตุทั้งสองนี้เป็นองค์ประกอบอยู่ในอณูของคลอโรฟิล


อ้างอิง : http://www.lks.ac.th/student/kroo_aumara/bio01/13.html

1 ความคิดเห็น:

หากเพื่อนๆมีอะไรสงสัยหรือมีข้อติติงในเนื้อหาที่อาจผิดไปสามารถแสดงความคิดเห็นกันได้นะค่ะ :)